วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แนวข้อสอบ กพ. วิชา เลขอนุกรม พร้อมเฉลย สำหรับสอบ กพ. ปี 2555



วันนี้ผมจึงได้นำแนวข้อสอบ กพ ของปีเก่าๆ  สำหรับสอบถาควิชา
ความรู้ทั่วไป (ภาค ก) มาให้น้องๆๆ ได้ลองทำกันครับ  เป็นแนว
ข้อสอบในวิชา    เลขอนุกรม พร้อมเฉลยอย่างละเอียด   ส่วนแนว
ข้อสอบในวิชาอื่นๆนั้น ผมจะนำมาอัพเดทเรื่อยๆครับ         

 

 

 

 

 

 

 

แนวข้อสอบ กพ วิชา เลขอนุกรม สำหรับสอบ ปี 2555

คำสั่ง    ในแต่ละข้อจะประกอบด้วยอนุกรมที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน  จงเลือกคำตอบจากตัวเลือก ก-ง มาเติมลงในช่องว่างเพื่อให้ได้อนุกรมที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่อ งกันอย่างสมเหตุสมผลมากที่สุด
ข้อ  1.     2     3    1     6    4     3    3     36     6     3    5     90     8     3     7……….
                 (คล้ายข้อสอบ ก.พ. ปี 48)
                 ก.  103                                                                         ข.  126
                 ค.  168                                                                         ง.  204
 ตอบ  ค.
ข้อนี้ให้เราสังเกตตัวเลขสูงๆ ในโจทย์นะครับ  ตัวอย่างเช่น 36 กับ 90 ว่าทำไมนะเลขสองตัวนี้  จึงมีค่าสูงผิดปกติกว่าตัวเลขอื่น  ต่อมาเราก็ลองเอาเลข 3 ตัว ที่อยู่ข้างหน้าของ 36 กับ 90 บวกหรือคูณกัน เมื่อเราเอาคูณกัน 4*3*3 = 36  และ 6*3*5  = 90   ง่ายมั๊ยละครับ..
ดังนั้นจะได้ว่า 8*3*7 = 168   เป็นคำตอบนั่นเอง
ข้อ 2.      16     16     19     49     22     100      25 ……. (คล้ายข้อสอบกรมส่งเสริม ฯ)
                 ก.  28                                                                              ข.  31
                 ค.  144                                                                          ง.  169
ตอบ  ง.
ข้อนี้ให้เราสังเกตตัวเลขสูงๆ เช่นกัน  ตัวอย่างเช่น 100 กับ 49  เอ๊ะแปลกดีมันสลับกันอยู่กับเลขต่ำครับ  แล้วอยากบอก….บอกให้คุณรู้ซะเลยว่าเลข 49 คือ 72 หรือ 7*7 เสมอแน่ะ  ดังนั้นเลข 100 ก็ต้องเป็น 102 = 10*10 แล้วจะได้คำตอบว่า 132  =  13 * 13 =  169  ขอให้สังเกตด้วยว่า 7, 10 และ 13 ห่างกันเท่ากับ 3 อย่างคงที่
ข้อ  3.     95     92     46      42     21      16      8  ……… (คล้ายข้อสอบ กทม.)
                 ก.  2                                                                                ข.  6
                 ค.  24                                                                              ง.  32
ตอบ  ก.

อนุกรมในข้อนี้ตัวเลขลดลงเรื่อยๆ ขอให้เราสังเกตว่า 95 กับ  92  มีค่าใกล้เคียงกัน (ลดลง)  ทำนองเดียวกัน 46  กับ  42  ก็มีค่าใกล้เคียงกัน (ลดลง 4)  และ 21 กับ 16 ก็ลดลง 4
ดังนั้นตัวเลขถัดไปก็ต้องลดลงจาก 8 ลงอีก 6  จึงได้คำตอบที่ถูกต้องคือ 8 – 6 =  2  นั่นเอง
ข้อ 6.      1     1     1    5    2     2     3    8     4    3     6     12      7     4      10……….(คล้ายข้อสอบ ก.พ.)
                 ก.  17                                                                          ข. 15
                 ค.13                                                                             ง.  11
ตอบ  ก.
ข้อนี้ตัวเลขในอนุกรมสับสนปนกันหมดเลย  แต่ไม่ยากหรอกน่า จะบอกเทคนิคให้ดังนี้ครับ
                 ให้หาตัวเลขสูงๆ ในอนุกรมซะก่อน  จะพบว่าคือเลข 12 และ 8 ซึ่งเพิ่มขึ้น 4
เมื่อเราเลือกพิจารณาคำตอบจะได้ 1    1    1    5    2    2    3    8    4    3    6    12    7    4    10    17
ข้อ 7.      148    74     80     40     46      23………. (คล้ายข้อสอบ ก.พ. + ปปส.)
                 ก.  26                                                                              ข.  29
                 ค.  35                                                                              ง.  42
ตอบ  ข.

อนุกรมข้อนี้เราจะเห็นชัดว่า  40  เป็นครึ่งของ 80  และ 74  เป็นครึ่งหนึ่งของ 148  รวมทั้ง 23  ก็เป็นครึ่งนึ่งของ  46  แต่อนุกรมข้อนี้ถามหาตัวเลขที่อยู่ถัดจาก  23  ต่างหาก  ซึ่งเราจะเห็นว่า  ถัดจาก 74 ไปเป็น  80  เพิ่มขึ้น 6  ถัดจาก 40  ไปเป็น  46  เพิ่มขึ้น 6
                 ดังนั้นจะได้ว่าถัดจาก 23  เพิ่มขึ้นอีก 6 ไปเป็น 29  นี่เอง
ข้อ  8.     245     479    61013     81317     101621  …….(คล้ายข้อสอบนายร้อยตำรวจ + ธุรการ + การเงิน)
                 ก.  121925                                                                  ข.  121424
                 ค.  152125                                                                  ง.  151925
 ตอบ   ก.
ข้อนี้โจทย์แปลกดีนะ  ตัวเลขเพิ่มขึ้นเร็วจังเลย    เราลองพิจารณาตัวเลขหน้าของ       แต่ละชุดจะได้ดังนี้  245    479     61013     81317    101621 ……เลขตัวหน้าที่ได้คือ  2    4     6  8    10 
ตัวเลขเพิ่มขึ้นทีละ 2 คงที่ ดังนั้นเลขตัวหน้าของคำตอบต้องเป็น  12  แน่นอนนั่นคือต้องตอบข้อ ก.  หรือไม่ก็ข้อ ข.  ส่วนเลขตัวกลางของเลขแต่ละชุดจะได้ดังนี้ 
245    479     61013     81317    101621 ……ซึ่งเพิ่มขึ้นทีละ 3  ดังนั้นตัวเลขกลางของคำตอบคือ 19  นั่นเองเราก็จะได้คำตอบที่ถูกต้องคือ  121925  นั่นเอง
ข้อ 9.      46    2    23    75   3    25    108    4    27 ……(คล้ายข้อสอบนายร้อยตำรวจ + ตรวจคนเข้าเมือง)
                 ก.  200                                                                          ข.  145
                 ค.  21                                                                              ง.  5
ตอบ  ข.
                 ข้อนี้ต้องดูที่ตัวเลขต่ำ ๆ ที่แทรกอยู่บนอนุกรมจะง่ายกว่าคือ  2, 3  และ 4
จะได้ดังนี้  46     2    23    75     3     25     108     4     27   …..
ซึ่งทำให้เราทราบว่า  46  เกิดจาก  3*25  และ 108  เกิดจาก 4*27  ดังนั้นคำตอบที่เราต้องการต้องเกิดจาก  5*29  นั่นเอง  ซึ่ง  5*29 = 145
ข้อ 10.    2   5   6   4    7   9    8    12    54    32   …….(คล้ายข้อสอบ  ก.พ.ปลัดอำเภอ)
                 ก.  64                                                                              ข.  76
                 ค.  19                                                                              ง.  18

ตอบ  ค.
                 ข้อนี้แปลกตรงที่มีเลข  4,  8,  12  และ  32  เป็นตัวเลขลงแทรกอยู่ในอนุกรมดังนี้ครับ
                 2   5   6   4    7   9    8    12    54    32   …….จะได้ว่า 5 +7 = 12 และ  7 + 12 = 19

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น